"ออทิสติกเทียม" ภัยร้าย ที่คุณแม่มือใหม่ ไม่ควรมองข้าม

 
ออทิสติกเทียม ภัยเงียบที่มาพร้อมเทคโนโลยี
ออทิสติกเทียม คือ ความผิดปกติทางสมองของเด็ก ซึ่งก่อให้เกิดการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำๆ จนทำให้สมองและร่างกายขาดการพัฒนาที่เหมาะสมตามวัย ทำให้เรียนรู้สิ่งต่างๆได้ช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน ถึงจะเป็นความผิดปกติทางสมอง แต่ก็มีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูที่ผิดวิธี การที่เด็กไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร

ในสังคมยุคปัจจุบัน คุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ มักไม่ค่อยมีเวลาให้ลูกเท่าที่ควร ใช้เวลามากกว่าครึ่งหมดไปกับงาน และคิดว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ คือพี่เลี้ยงเด็กชั้นเลิศ สามารถแบ่งเบาภาระของ คุณพ่อ คุณแม่ได้เป็นอย่างดี

ซึ่งไอเจ้าพี่เลี้ยงเด็กสมัยใหม่นี่แหละที่เป็นตัวกาลทำให้เด็กเกิดอาการ  "ออทิสติกเทียม"

10 พฤติกรรมเสี่ยง ต่อการเป็น "ออทิสติกเทียม"
  1. ไม่ตอบสนองต่อ แสง สี และเสียง
  2. ไม่สนใจคนรอบข้าง
  3. ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้
  4. ไม่สนใจที่จะแสดงความรัก โดยการอุ้ม กอด หรือหอม
  5. ไม่สนใจทำกิจกรรม หรือพูดคุยกับเด็กคนอื่นๆ ชอบปลีกตัวอยู่คนเดียว
  6. ไม่สามารถบอก หรือแสดงความต้องการที่ตัวเองต้องการได้
  7. ไม่แสดงท่าทาง หรือ ส่งเสียงเรียก
  8. ผูกพันกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป เช่น หากเดินไปดึงไอแพคคืน หรือ ปิดทีวี ก็จะส่งเสียงร้องดังกว่า          ปกติ
  9. ไม่พยายามลอกเลียนแบบท่าทาง หรือเสียงของพ่อแม่
  10. อายุเกือบ 2 ขวบ แต่ยังพูดไม่ได้ หรือพูดไม่เป็นภาษา
 
หลีกเลี่ยง "ออทิสติกเทียม" ด้วยวิธีการง่ายๆ คุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ก็ทำได้ !
  1. พยายามหลีกเลี่ยงเทคโนโลยีจนเด็กอายุครบ 24เดือน ขึ้นไป (เพื่อให้เด็กเรียนรู้จากพ่อแม่ เป็นหลัก)
  2. หมั่นทำกิจกรรมร่วมกับลูกเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ให้เกิดการคุ้นชิน
  3. ควรให้ลูกน้อยได้เล่นของเล่น อย่างเช่น ตัวต่อ หรือ ระบายสี/วาดรูป (เพื่อเสริมสร้างจินตนาการให้เด็กและการเจริญเติบโตทางด้านสมองอย่างเหมาะสม)
  4. พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมกับทุกๆกิจกรรมของเด็ก
  5. พาเด็กออกไปเจอโลกภายนอกบ้าง เพื่อให้เด็กเกิดความคุ้นเคยกับสังคม
หากสังเกตุเห็นพฤติกรรมเสี่ยงของเด็กให้รีบหาวิธีแก้ไข หรือ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง


ข้อมูลจาก singlemom1970

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้